ชลบุรี เดือด กลุ่มบริษัทผู้รับเหมา นำหลักฐานวางบิลค่างวดงานแจ้งความตำรวจแหลมฉบัง เอาผิดอาญาถึงที่สุด UJV ผู้จัดการ ผู้กระทำการแทน ผู้รับเหมาหลักหรือผู้แทนและบุคคลเกี่ยวข้อง ฐานทุจริตหลอกลวง ไม่จ่ายค่าจ้างตามสัญญา
วันที่ 12 พ.ย. จะนำแรงงานกว่า 1,000 คน ยื่นหนังสือนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบ เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ 8 พ.ย.67 ตัวแทนจากบริษัทผู้รับเหมาช่วงกว่า 20 บริษัท ได้นำหนังสือมอบอำนาจเข้ายื่นคำร้องต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี กรณีถูกกลุ่มบริษัท UJV ที่ประกอบด้วย บริษัท Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd., Petrofac South East Asia Pte. Ltd., และ Saipem Singapore Pte. Ltd. ซึ่งเป็นผู้รับเหมาช่วง (SUBCONTRACTOR) โครงการพลังงานสะอาด CFP โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ อ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี ฐานหลอกลวง ไม่จ่ายค่าจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้าง หรือจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่ตกลงกันตามสัญญา ทั้งที่รายละเอียดในสัญญาระบุว่า บริษัทผู้รับเหมาช่วงจะได้รับการจ่ายค่างานเป็นงวดๆ ตามความคืบหน้าของผลงานและสัญญาว่าจะจ่ายค่างวดงานนั้นๆ ภายใน 45 วัน หลังจากที่ผู้รับเหมาหลักได้รับมอบงานและ รับการวางบิลค่างวดงานแต่ละงวดนั้นๆ
ดังปรากฏในสัญญา แต่เมื่อบริษัท ได้ดำเนินการตามข้อตกลงในสัญญาและส่งมอบงานตามกำหนดครบถ้วน พร้อมตัวแทนผู้รับเหมาหลักได้ลงลายมือรับรองผลงานที่แล้วเสร็จในแต่ละงวดงานอย่างครบถ้วนตามสัญญาแล้ว แต่ผู้รับเหมาหลัก กลับยังไม่ยอมชำระจ่ายเงินตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งล่วงเลยกำหนดจ่ายมาเป็นเวลานานเกินกว่า 45 วันแล้ว โดยที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทผู้รับเหมาช่วง ได้ส่งจดหมายทวงถามเป็นลายลักษณ์อักษรและยังติดต่อไปพบผู้รับเหมาหลักหลายครั้ง แต่ผู้รับเหมาหลัก กลับไม่จ่ายเงินค่าจ้างงานตามสัญญา และให้เหตุผลต่างๆที่ไม่เป็นธรรม เพื่อยื้อเวลาในการจ่ายเงินค่าจ้างตามสัญญา โดยอ้างเหตุว่าขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน ทั้งๆ ที่ ไทยออยล์ ได้มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับ Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd., Petrofac South East Asia Pte. Ltd., และ Saipem Singapore Pte. Ltd. อย่างครบถ้วนมาตลอด และยังมีบริษัท แม่ที่สามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd., Petrofac South East Asia Pte. Ltd., และ Saipem Singapore Pte. Ltd. ได้ โดยห้ามบริษัทหยุดทำงาน เพราะจะเป็นการผิดสัญญา และต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้รับเหมาหลักตามสัญญา ที่ผ่านมา บริษัทผู้รับเหมาช่วงได้นัดหมายเจรจาและมีตัวกลางไกล่เกลี่ยกับผู้รับเหมาหลักมาโดยตลอด แต่ผู้รับเหมาหลักยังคงยื้อเวลาและไม่ยอมชำระค่างวดงาน โดยตัวแทนจาก 20 บริษัทผู้รับเหมาช่วง ได้นำเอกสารงวดงานที่ผู้รับเหมาหลักผิดนัดชำระเงินตามสัญญาฯ แนบสำเนาไว้เป็นหลักฐานให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งแต่ละบริษัทมียอดเงินค้างจ่ายมากน้อยแตกต่างกันไปนอกจากนั้นตัวแทนบริษัทผู้รับเหมาช่วง ยังได้นำหลักฐานข่าวประชาสัมพันธ์ ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ของบริษัท ไทยออย์ จำกัด (มหาชน) ที่ระบุว่า “ไทยออยล์ ได้ทราบข่าวมาจากผู้รับเหมาช่วงบางรายในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ว่า UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ไม่จ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับบริษัทผู้รับเหมาช่วงบางรายรามกำหนด โดย UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem อ้างว่าขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน ทั้งๆ ที่ไทยออยล์ได้มีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem อย่างครบถ้วนมาโดยตลอด และยังมีบริษัทแม่ ที่สามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem” โดย ไทยออยล์ ขอยืนยันว่า ไทยออยล์ ได้มีการจ่ายค่าตอบแทนให้แก้ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา EPC อย่างครบถ้วนถูกต้องมาอย่างต่อเนื่อง แต่ UJV – Samsung, Petrofac และ Saipem ยังไม่จ่ายค่าตอบแทนค้างจ่ายให้กับบริษัทผู้รับเหมาช่วง”
ซึ่งจากข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้กลุ่มบริษัทผู้รับเหมาช่วง เห็นว่าการกระทำของผู้รับเหมาหลัก มีพฤติการณ์โดยทุจริตหลอกลวง ไม่จ่ายค่าจ้างตามสัญญาจ้างก่อสร้าง หรือโดยจ่ายค่าจ้างต่ำกว่าที่ตกลงกันตามสัญญาแก่บริษัท และผู้รับเหมารายอื่นกว่า 20 ราย จึงขอแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้สอบสวนข้อเท็จจริง และดำเนินการตามกฎหมายกับผู้รับเหมาหลัก ผู้จัดการ ผู้กระทำการแทนผู้รับเหมาหลัก หรือผู้แทนของผู้รับเหมาหลัก และบุคคลที่เกี่ยวข้องในการกระทำอันมีลักษณะเป็นความผิดทางอาญาจนถึงที่สุด โดย นายยุทธนา กาญจนารมย์ ฝ่ายประสานงานองค์กร CAZ เผยว่าปัญหาที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลกรทบต่อบริษัทมานานหลายเดือนแล้ว และท้ายที่สุดบริษัทที่สายป่านเล็กอาจไปต่อไม่ไหวและแม้บริษัทที่มีสายป่านจะยังดำเนินการอยู่ได้แต่ว่าในระยะยาวกว่าจะกลับมาเป็นเหมือนเดิมคงยาก เนื่องจากขณะนี้แรงงานที่มีทักษะฝีมือเริ่มแยกย้ายกันกลับบ้านและกว่าจะผลิตแรงงานที่มีทักษะฝีมือในโรงกลั่น หรือโรงปิโตรเคมีได้ต้องใช้เวลาพอสมควร จึงอยากฝากให้รัฐบาล รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกระทรวงพลังงาน ช่วยลงมาเร่งรัดปัญหาให้จบโดยเร็วที่สุด เช่นเดียวกับ นายสุพจน์ สุรัตน์ ผู้จัดการโครงการ บริษัท ไทยโรตารี่ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ( มหาชน)ที่บอกว่าการรวมตัวเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับตำรวจ สภ.แหลมฉบัง ของกลุ่มผู้รับเหมาช่วงในวันนี้ก็เพื่อเป็นการให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงความความเดือดร้อนที่กลถ่มแรงงานและผุ้ประกอบการที่ได้รับมาตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 67 และปัจจุบันความเดือดร้อนยาวนาน 7-8 เดือนแล้ว จึงอยากจะวิงวอนผู้มีอำนาจ ผู้ให้ช่วยผลักดันให้ปัญหาได้รับการแก้ไขเพราะมันเป็นเรื่องปากท้องของพี่น้องแรงงาน
ทั้งนี้ ยังมีรายงานว่า ในเวลาประมาณ 09.00 น.วันที่ 12 พ.ย.67 กลุ่มผู้รับเหมาช่วงที่ได้รับความเดือดร้อนจากการเบี้ยวจ่ายค่างวดงานรวมเป็นเงินหลายพันล้านบาท จะนำแรงงานกว่า 1,000 คน ยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือจากนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล พร้อมทำกิจกรรมบูม PAY PAY PAT อย่างต่อเนื่องก่อนแยกย้าย ส่วนในช่วงบ่ายผู้บริหารกลุ่มผู้รับเหมาช่วง จะเดินทางเข้าพับ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อขอความเป็นธรรมอีกด้วย
นิราช/นันทพล ทิพย์ศรี ก012 ชลบุรี 0909535645